วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 2 จิตวิทยาแนะแนว

ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ประเภทของการแนะแนว
1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)
2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)

บริการแนะแนว
1. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
2. บริการสนเทศ (Information Service)
3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว
4. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
5. บริการติดตามผล
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
ด้านความสามารถ การเรียน อื่นๆ
ด้านสุขภาพ กาย ใจ พฤติกรรม
ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน
2. การคัดกรองนักเรียน (ดูข้อมูล จัดกลุ่ม)
ปกติ
กลุ่มเสี่ยง
3. การส่งเสริมพัฒนาให้ได้คุณภาพ
4. การป้องกันและแก้ปัญหา
ใกล้ชิด หาข้อมูล ให้คำปรึกษา
5. การส่งต่อ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ (The Strength and Difficulties Questionnaires)
การแนะแนวสำหรับอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา
1. ความหมายของการแนะแนว
2. การแนะแนว VS การแนะนำ
3. การแนะนำ 3 ด้าน การศึกษา อาชีพ ส่วนตัว
4. บริการที่จัดในโรงเรียน 5 บริการ
5. บริการให้คำปรึกษาเป็นหัวใจของการบริการแนะแนว
6. ความหมายของการให้คำปรึกษา
7. Individual Counseling and Group Counseling
8. การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และการแสดงออก
9. การเข้าใจธรรมชาติของปัญหา (3 kinds of problem 7 cells)
10. จรรยาบรรณของการให้คำปรึกษา
11. ขั้นตอนในการให้คำปรึกษา
12. เทคนิคการให้คำปรึกษา และ Role Play

การให้คำปรึกษา (Counseling)
ความหมาย
กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอคำปรึกษา เพื่อให้เขาได้ใช้ความสามารถที่เขามีอยู่จัดการกับปัญหาของเขาได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้
กระบวนการให้คำปรึกษาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ 3 ประการ
1. ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)
2. ผู้มาขอรับคำปรึกษา (Counselee)
3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Counselor และ Counselee
จิตวิทยาการให้คำปรึกษา ต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
1. การเข้าใจตนเอง (Counselor)
2. การเข้าใจผู้มาของรับการปรึกษา
3. การเข้าใจธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ (Human interaction Model)
4. เข้าใจธรรมชาติของปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา
5. เข้าใจลักษณะการให้คำปรึกษา จรรยาบรรณการให้คำปรึกษา
6. ขั้นตอนการให้คำปรึกษา
7. เทคนิคการคำปรึกษา
8. ฝึกปฏิบัติ (Practicum)
คนที่จะประสบความสำเร็จ ต้องเก่งอย่างน้อย 3 เก่ง
1. เก่งงาน (Task Ability)
คุณสมบัติของคนเก่งงาน
1.1 ต้องมีความรู้และความชำนาญในงานนั้น
1.2 ต้องมีความรับผิดชอบสูง
1.3 รวดเร็ว ถูกต้อง
1.4 มองการณ์ไกล มี Vision
2. เก่งคน (Social Ability)
คุณสมบัติของคนเก่งคน
2.1 เข้าใจตน เข้าใจคนอื่น
2.2 ปรับตน ปรับคนอื่น
3. เก่งคิด (Conceptual Ability)


N
U
O

N
U
OHuman Approaching
U = p+c (พูดน้อย)
N = p+l+c
O = L+C (พูดมาก)


C = Concern ให้ความสำคัญ - เป็นสิ่งที่ครูควรจะปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับตัวเด็ก
P = Persuasion ชักชวนพูดคุย หลัก พูดเรื่องของเขา, อย่าขัดคอ, คุยเรื่องที่เขาเด่น/เก่ง, คุยเรื่องแปลก
L = Listening การฟัง หลัก ตั้งใจ สนใจ ฟัง, สายตามองคู่สนทนาแต่ไม่จ้อง, แสดงอาการตอบรับ ทั้งกายและวาจา, ทวนคำ

ชนิดของปัญหา (3 Kinds of Problems)
1. ข้อเท็จจริง (Factual Problem) เช่น ปัญหารถสตาร์ทไม่ติด
2. อารมณ์ (Emotional Problem) เช่น ปัญหาคู่สมรส
3. ผลประโยชน์ (Beneficial Problem)

ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา
1. สร้างความคุ้นเคย (Rapport)
2. เริ่มต้นการให้คำปรึกษา (Opening the Interview)
3. การกำหนดปัญหา (Setting Problems)
4. การรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)
5. การร่วมแก้ปัญหา (Solving the Problem)
6. ขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)
7. ขั้นสรุปและปิดการสนทนา (Summarization & Closed Case)

เทคนิคการให้คำปรึกษา
1. สร้างความคุ้นเคย (Rapport)
2. การถาม (Asking)
3. การฟัง (Listening)
4. การให้ความกระจ่าง (Clarification)
5. ขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)
6. การสะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling)
7. การสะท้อนเนื้อหา (Reflection of Content)
8. การสรุป (Summarization)
9. การเงียบ (Silence)

จิตวิทยา (Psychology)
การให้คำปรึกษา (Counseling)
จิตวิทยา คือ ศาสตร์ (Logos) ที่ศึกษาพฤติกรรม (Behavior) ของมนุษย์และสัตว์
เราศึกษาพฤติกรรม เพื่อรู้พฤติกรรมภายใน (Convert Behavior) หรือจิต
ศึกษาจิตวิทยาเพื่อ…
1. ให้เกิดความเข้าใจ
2. ให้สามารถอธิบายได้
3. ทำนาย
4. ควบคุม

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1 การแนะแนวหมายถึง

การแนะแนว หมายถึง ขบวนการที่ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองและรู้ถึงแนวทางที่จะใช้ความสามารถ ความสนใจ และความถนัดของตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมให้มากที่สุดและช่วยให้สามารถเผชิญความจริงได้อย่างกล้าหาญ สามารถใช้ตัดสินใจเลือกและวางแนวชีวิตในอนาคตของตนได้อย่างฉลาดและถูกต้องในปัจจุบัน หลักสูตรของโรเงรียนมัธศึกษาเป็นหลักสูตรแบบกว้าง เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามถนัด ความสามารถ และความสนใจ ทั้งในปัจจุบันนี้มีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย บริการแนะแนวจึงเข้ามามีบทบาทเพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักแก้ปัญหาทั้งปรับตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ความสำคัญของการแนะแนวจุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหา แก้ไขพฤติกรรมทุกอย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ต้องการ
ประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว

ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
ประโยชน์ต่อนักเรียน2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ใสังคมอย่างมีความสุข
ประโยชน์แก่ครู 3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
ประโยชน์แก่โรงเรียน4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น
บริการหลักที่งานแนะแนวจัดให้นักเรียน มีดังต่อไปนี้
บริการรวบรวมข้อมูลและศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลเป็นบุริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหา หรือข้อบกพร่องในตัวนักเรียน เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่- บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสม- บริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง- ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน- สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
บริการให้คำปรึกษาเป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน งานบริการในด้านนี้ คือ- ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ- ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม- เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพบริการให้คำปรึกษาจะช่วยผ่อนคลายความเครียดในจิตใจของนักเรียนและผู้ปกครองโดย อาจารย์แนะแนวมีจรรยาบรรณที่จะ "รักษาความลับของนักเรียน" ฉะนั้นการเข้าไปคุยกับครูแนะแนวจึงเป็นเรื่องที่เด็กฉลาดควรทำ ไม่ควรคิดผิด ๆ ว่า"เฉพาะเด็กที่มีปัญหาเท่านั้นที่จะเข้าห้องแนะแนว" อาจารย์แนะแนวพร้อมที่จะเป็นคู่คิด เป็นที่ปรึกษาทั้งการเลือกวิชาเรียนการศึกษาต่อ การหางานทำ หรือปัญหาส่วนตัว งานแนะแนวยินดีช่วยนักเรียนเสมอ
บริการสนเทศเป็นบริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่- การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว- การจัดป้ายนิเทศ- การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน- การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม- การจัดวันอาชีพ- การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ- การจัดฉายภาพยนต์ วีดีโอ สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน- จัดปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ
ปฐมนิเทศเป็นงานพบปะนักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อทำความเข้าใจในนโยบายของโรงเรียนแนะนำอาคารสถานที่ ครู- อาจารย์ ระเบียบวินัยของโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความอบอุ่นใจและรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน
ปัจฉิมนิเทศจัดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของปีการศึกษา ให้กับนักเรียนที่จะจบการศึกษา คือ มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้แนวทางในการวางตัว การปฏิบัติตนในสังคม และแนวทางในการประกอบสัมมาชีพหรือการศึกษาต่อเพื่อปลูกฝังความศรัทธา และความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียน