วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ส่งงาน ผศ.สมคิด ดวงจักร์

ผศ.สมคิด ดวงจักร

1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ข้าพเจ้าจึงสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนดรุณาราชบุรี เช่น e-Learning, e-School, e-Teacher, e-Student และ Learning Organization โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทในการคิด การสร้างความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและการปฏิบัติด้วยตนเองซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความคิดพื้นฐานของประสบการณ์เดิมกับความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับมาหรือเมื่อได้ลงมือทำมีการคิดหาเหตุผล เห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เดิมและความรู้ใหม่ที่ได้รับมาจากการลงมือทำเอง ค่อย ๆ ทำความเข้าใจจนได้ข้อสรุปด้วยตนเอง ผู้เรียนจะได้ความรู้โดยผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของตัวเขาเอง และจะค่อย ๆ สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับโลกของตัวเขา ทฤษฎีใหม่ ๆ ในใจของผู้เรียนจะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายการพัฒนา คือ ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ โดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือ และสามารถพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักแสวงหาความรู้และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการใช้ไอซีทีสร้างสรรค์หรือนำเสนอผลงาน ซึ่งจะเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และเพิ่มศักยภาพครูในการจัดการเรียนการสอน
ขั้นตอนการประยุกต์ใช้
1. การใช้และระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
(1) ระบบสื่อสาร หมายถึง เครือข่ายโทรคมนาคมที่สามารถเชื่อมต่อกันได้และใช้ร่วมกันได้เพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลและเชื่อมต่อของเครือข่าย
(2) อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร อันได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ เครื่องมือและการสื่อสารอื่น ๆ และคอมพิวเตอร์
(3) ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ระบบและอุปกรณ์ทำงานได้ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ บริการสารสนเทศ และฐานข้อมูล
2. ขั้นตอนการใช้สื่อ ซึ่งครูจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมไอซีทีที่จะใช้ให้พร้อม และเป็นระบบตามกระบวนการขั้นตอนการใช้หรือมีการวางแผนการใช้เป็นลำดับขั้น ได้แก่ (1) ขั้นวางแผน (Planning) (2) ขั้นเลือกสื่อ (Selection) (3) ขั้นเตรียมการใช้ (Preparation) (4) ขั้นการใช้สื่อ (Presentation) (5) ขั้นประเมินการใช้ (Evaluation)
3. การใช้ไอซีทีในด้านกระบวนการเรียนรู้ มีรายละเอียดดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , 2545 : 27-29)
1) รูปแบบที่ 1 แบบรายวิชา โดยจะทำการศึกษาการแยกย่อยลงไปในรายวิชา วิชาที่ใช้นั้นมีอะไรบ้าง
2) รูปแบบที่ 2 แบบบูรณาการ เป็นการศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี “คอนสตรัคชั่นนิสม์” (Constructionism) ซึ่งเป็นแนวคิดทฤษฎีที่โครงการโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3) รูปแบบที่ 3 แบบการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเสริมศึกษา โดยศึกษาด้านการใช้ Software ที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่สอน และนักเรียนสร้างผลงานแล้วจัดเก็บผลงานโดยบันทึกในรูปของซีดี
ผลกระทบ
1. การเปลี่ยนผู้บริหารโรงเรียน ทำให้การพัฒนาไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
2. ปัญหาการบริหาร มีเฉพาะในการดำเนินการตามแผน ICT คือ ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนไม่เพียงพอ
3. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการตามแผน ICT ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งมีปัญหาบ่อย
4. งบประมาณที่สนับสนุนไม่เพียงพอ และทรัพยากรซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนไม่เพียงพอ

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทยเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการลดความเสี่ยงต่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนผู้ใช้งานระบบและเครือข่ายทั่วไป เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวมีกระบวนการขั้นตอนอย่างเป็นระบบจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีแห่งชาติเพื่อกำหนดขอบเขตหรือข้อกำหนดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายให้กับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ในระดับชาติ ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว
แผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีที (ICT Security Master Plan) เป็นแผนที่นำทางทางกลยุทธ์ (a Strategic Roadmap) ซึ่งจำเป็นสำหรับการริเริ่มโครงการระดับชาติที่เป็นแผนปฏิบัติการโครงการเร่งด่วนเพื่อที่จะคุ้มครองโครงสร้างพื้นฐานวิกฤตของชาติ (Critical Information Infrastructure) จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อที่จะลดผลกระทบจากเหตุ ตลอดจนการฟื้นฟูระบบอย่างรวดเร็ว แผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีแห่งชาติจะช่วยจัดตั้งรูปแบบและลำดับความสำคัญในบริบทของ ความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีเมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ปัจจุบันและการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ทั้งที่จะเกิดต่อภาคประชาชน ภาคเอกชนและภาครัฐบาล การออกแบบแผนปฏิบัติการโครงการเร่งด่วนของแผนแม่บทฉบับนี้ต้องการที่จะจัดให้มีองค์การที่มีกรอบการทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นอย่างพอเพียง เพื่อที่จะสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นของแผนปฏิบัติการโครงการเร่งด่วนสำหรับปีที่ 1 ของการดำเนินการตามแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีที จะประกอบด้วย 6 โครงการดังนี้
1. การจัดทำนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
2. โครงการประเมินความพร้อมขององค์กรภาครัฐซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. ศูนย์นโยบายและวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์แห่งชาติ(TISPAC)
4. โครงการจัดทำดัชนีชี้วัดความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ
5. โครงการสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ
6. โครงการฝึกอบรม ด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ข้าพเจ้าจึงเห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด แต่ควรมีการประชาสัมพันธ์เนื้อหา ให้มากขึ้นในวงกว้าง และ ควรมีการปรับแก้บางมาตรา หรือ การปรับแก้บทลงโทษให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจน ภาครัฐควรบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ให้จริงจัง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้การกระทำที่เป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษไว้ในหมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่มาตรา ๕ ถึงมาตรา ๑๖โดยกำหนดองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษไว้ สามารถสรุปการกระทำความผิด ดังนี้ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคลเหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ การลักลอบนำเอาข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการสร้างความเสียหายต่อบุคคลและสังคมสารสนเทศโดยผู้ไม่ประสงค์ดี ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า “อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์” การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำที่”ขาดจริยธรรม”ที่ดีแล้ว ยังเป็นการกระทำผิดกฎหมายด้วย เนื่องจากลักษณะการก่ออาชญากรรมลักษณะพิเศษ จึงควรมีกฎหมายใหม่ที่ไม่กระทบต่อโครงสร้างประมวลกฎหมายอาญาเดิมเพียงแต่กฎหมายนี้จะเข้ามาทำหน้าที่อุดช่องว่างทางกฎหมายของประมวลกฎหมายอาญาที่ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ นอกจากนี้ในการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีอำนาจพิเศษของเจ้าพนักงานบางประการ อาทิ การถอดรหัสลับข้อมูล การเรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อีกทั้งการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาจำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างนานจึงเห็นควรให้มีกฎหมายเฉพาะในลักษณะพระราชบัญญัติ เพื่อให้ทันต่อการกระทำผิดรูปแบบใหม่ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 2 จิตวิทยาแนะแนว

ความหมายของการแนะแนว
การแนะแนว หมายถึง กระบวนการทางการศึกษาที่ช่วยให้ บุคคลรู้จัก และเข้าใจตนเองและสิ่งแวดล้อม สามารถนำตนเองได้ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ปฏิบัติตนให้เป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การแนะแนวไม่ใช่การแนะนำ อาจกล่าวได้ว่าการแนะแนวเป็นการช่วยเหลือ ให้เขาสามารถช่วยตนเองได้
ประเภทของการแนะแนว
1. การแนะแนวการศึกษา (Education Guidance)
2. การแนะแนวอาชีพ (Vocational Guidance)
3. การแนะแนวส่วนตัวและสังคม (Personal and Social Guidance)

บริการแนะแนว
1. บริการสำรวจนักเรียนเป็นรายบุคคล (Individual Inventory Service)
2. บริการสนเทศ (Information Service)
3. บริการให้คำปรึกษา (Counseling Service) เป็นหัวใจของการแนะแนว
4. บริการจัดวางตัวบุคคล (Placement Service)
5. บริการติดตามผล
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
1. รู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล
ด้านความสามารถ การเรียน อื่นๆ
ด้านสุขภาพ กาย ใจ พฤติกรรม
ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน
2. การคัดกรองนักเรียน (ดูข้อมูล จัดกลุ่ม)
ปกติ
กลุ่มเสี่ยง
3. การส่งเสริมพัฒนาให้ได้คุณภาพ
4. การป้องกันและแก้ปัญหา
ใกล้ชิด หาข้อมูล ให้คำปรึกษา
5. การส่งต่อ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
แบบประเมินพฤติกรรมเด็ก SDQ (The Strength and Difficulties Questionnaires)
การแนะแนวสำหรับอาจารย์และผู้บริหารสถานศึกษา
1. ความหมายของการแนะแนว
2. การแนะแนว VS การแนะนำ
3. การแนะนำ 3 ด้าน การศึกษา อาชีพ ส่วนตัว
4. บริการที่จัดในโรงเรียน 5 บริการ
5. บริการให้คำปรึกษาเป็นหัวใจของการบริการแนะแนว
6. ความหมายของการให้คำปรึกษา
7. Individual Counseling and Group Counseling
8. การเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์และการแสดงออก
9. การเข้าใจธรรมชาติของปัญหา (3 kinds of problem 7 cells)
10. จรรยาบรรณของการให้คำปรึกษา
11. ขั้นตอนในการให้คำปรึกษา
12. เทคนิคการให้คำปรึกษา และ Role Play

การให้คำปรึกษา (Counseling)
ความหมาย
กระบวนการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้มาขอคำปรึกษา เพื่อให้เขาได้ใช้ความสามารถที่เขามีอยู่จัดการกับปัญหาของเขาได้ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาได้
กระบวนการให้คำปรึกษาจะเกี่ยวข้องกับสิ่งสำคัญ 3 ประการ
1. ผู้ให้คำปรึกษา (Counselor)
2. ผู้มาขอรับคำปรึกษา (Counselee)
3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Counselor และ Counselee
จิตวิทยาการให้คำปรึกษา ต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้
1. การเข้าใจตนเอง (Counselor)
2. การเข้าใจผู้มาของรับการปรึกษา
3. การเข้าใจธรรมชาติการแสดงออกของมนุษย์ (Human interaction Model)
4. เข้าใจธรรมชาติของปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา
5. เข้าใจลักษณะการให้คำปรึกษา จรรยาบรรณการให้คำปรึกษา
6. ขั้นตอนการให้คำปรึกษา
7. เทคนิคการคำปรึกษา
8. ฝึกปฏิบัติ (Practicum)
คนที่จะประสบความสำเร็จ ต้องเก่งอย่างน้อย 3 เก่ง
1. เก่งงาน (Task Ability)
คุณสมบัติของคนเก่งงาน
1.1 ต้องมีความรู้และความชำนาญในงานนั้น
1.2 ต้องมีความรับผิดชอบสูง
1.3 รวดเร็ว ถูกต้อง
1.4 มองการณ์ไกล มี Vision
2. เก่งคน (Social Ability)
คุณสมบัติของคนเก่งคน
2.1 เข้าใจตน เข้าใจคนอื่น
2.2 ปรับตน ปรับคนอื่น
3. เก่งคิด (Conceptual Ability)


N
U
O

N
U
OHuman Approaching
U = p+c (พูดน้อย)
N = p+l+c
O = L+C (พูดมาก)


C = Concern ให้ความสำคัญ - เป็นสิ่งที่ครูควรจะปลูกฝังให้เกิดขึ้นกับตัวเด็ก
P = Persuasion ชักชวนพูดคุย หลัก พูดเรื่องของเขา, อย่าขัดคอ, คุยเรื่องที่เขาเด่น/เก่ง, คุยเรื่องแปลก
L = Listening การฟัง หลัก ตั้งใจ สนใจ ฟัง, สายตามองคู่สนทนาแต่ไม่จ้อง, แสดงอาการตอบรับ ทั้งกายและวาจา, ทวนคำ

ชนิดของปัญหา (3 Kinds of Problems)
1. ข้อเท็จจริง (Factual Problem) เช่น ปัญหารถสตาร์ทไม่ติด
2. อารมณ์ (Emotional Problem) เช่น ปัญหาคู่สมรส
3. ผลประโยชน์ (Beneficial Problem)

ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา
1. สร้างความคุ้นเคย (Rapport)
2. เริ่มต้นการให้คำปรึกษา (Opening the Interview)
3. การกำหนดปัญหา (Setting Problems)
4. การรวบรวมข้อมูล (Collecting Data)
5. การร่วมแก้ปัญหา (Solving the Problem)
6. ขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)
7. ขั้นสรุปและปิดการสนทนา (Summarization & Closed Case)

เทคนิคการให้คำปรึกษา
1. สร้างความคุ้นเคย (Rapport)
2. การถาม (Asking)
3. การฟัง (Listening)
4. การให้ความกระจ่าง (Clarification)
5. ขั้นให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)
6. การสะท้อนความรู้สึก (Reflection of feeling)
7. การสะท้อนเนื้อหา (Reflection of Content)
8. การสรุป (Summarization)
9. การเงียบ (Silence)

จิตวิทยา (Psychology)
การให้คำปรึกษา (Counseling)
จิตวิทยา คือ ศาสตร์ (Logos) ที่ศึกษาพฤติกรรม (Behavior) ของมนุษย์และสัตว์
เราศึกษาพฤติกรรม เพื่อรู้พฤติกรรมภายใน (Convert Behavior) หรือจิต
ศึกษาจิตวิทยาเพื่อ…
1. ให้เกิดความเข้าใจ
2. ให้สามารถอธิบายได้
3. ทำนาย
4. ควบคุม

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1 การแนะแนวหมายถึง

การแนะแนว หมายถึง ขบวนการที่ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองและรู้ถึงแนวทางที่จะใช้ความสามารถ ความสนใจ และความถนัดของตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคมให้มากที่สุดและช่วยให้สามารถเผชิญความจริงได้อย่างกล้าหาญ สามารถใช้ตัดสินใจเลือกและวางแนวชีวิตในอนาคตของตนได้อย่างฉลาดและถูกต้องในปัจจุบัน หลักสูตรของโรเงรียนมัธศึกษาเป็นหลักสูตรแบบกว้าง เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เลือกเรียนตามถนัด ความสามารถ และความสนใจ ทั้งในปัจจุบันนี้มีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย บริการแนะแนวจึงเข้ามามีบทบาทเพื่อช่วยให้นักเรียนรู้จักแก้ปัญหาทั้งปรับตนให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ความสำคัญของการแนะแนวจุดหมายของการแนะแนว คือการป้องกันปัญหา แก้ไขพฤติกรรมทุกอย่างที่ผิดปกติและการพัฒนาให้ทุกคนไปสู่จุดหมายของชีวิตที่ต้องการ
ประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว

ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา1.1 ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว1.2 ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ1.3 รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป
ประโยชน์ต่อนักเรียน2.1 ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา2.2 ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล2.3 ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ใสังคมอย่างมีความสุข
ประโยชน์แก่ครู 3.1 ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น3.2 ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน3.3 ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
ประโยชน์แก่โรงเรียน4.1 ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน4.2 ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น
บริการหลักที่งานแนะแนวจัดให้นักเรียน มีดังต่อไปนี้
บริการรวบรวมข้อมูลและศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคลเป็นบุริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหา หรือข้อบกพร่องในตัวนักเรียน เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่- บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสม- บริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง- ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน- สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
บริการให้คำปรึกษาเป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน งานบริการในด้านนี้ คือ- ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ- ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม- เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพบริการให้คำปรึกษาจะช่วยผ่อนคลายความเครียดในจิตใจของนักเรียนและผู้ปกครองโดย อาจารย์แนะแนวมีจรรยาบรรณที่จะ "รักษาความลับของนักเรียน" ฉะนั้นการเข้าไปคุยกับครูแนะแนวจึงเป็นเรื่องที่เด็กฉลาดควรทำ ไม่ควรคิดผิด ๆ ว่า"เฉพาะเด็กที่มีปัญหาเท่านั้นที่จะเข้าห้องแนะแนว" อาจารย์แนะแนวพร้อมที่จะเป็นคู่คิด เป็นที่ปรึกษาทั้งการเลือกวิชาเรียนการศึกษาต่อ การหางานทำ หรือปัญหาส่วนตัว งานแนะแนวยินดีช่วยนักเรียนเสมอ
บริการสนเทศเป็นบริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่- การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว- การจัดป้ายนิเทศ- การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน- การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม- การจัดวันอาชีพ- การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ- การจัดฉายภาพยนต์ วีดีโอ สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน- จัดปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ
ปฐมนิเทศเป็นงานพบปะนักเรียนและผู้ปกครอง เพื่อทำความเข้าใจในนโยบายของโรงเรียนแนะนำอาคารสถานที่ ครู- อาจารย์ ระเบียบวินัยของโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดความอบอุ่นใจและรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียน
ปัจฉิมนิเทศจัดขึ้นในสัปดาห์สุดท้ายของปีการศึกษา ให้กับนักเรียนที่จะจบการศึกษา คือ มัธยมศึกษาปีที่ 3 และมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้แนวทางในการวางตัว การปฏิบัติตนในสังคม และแนวทางในการประกอบสัมมาชีพหรือการศึกษาต่อเพื่อปลูกฝังความศรัทธา และความรู้สึกผูกพันกับโรงเรียน