วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ส่งงาน ผศ.สมคิด ดวงจักร์

ผศ.สมคิด ดวงจักร

1. ท่านสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศในองค์กรของท่านได้อย่างไร บอกกรอบความคิด ขั้นตอน ผลกระทบให้เห็นกระบวนการคิดของท่านทั้งระบบ
ข้าพเจ้าจึงสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนดรุณาราชบุรี เช่น e-Learning, e-School, e-Teacher, e-Student และ Learning Organization โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีบทบาทในการคิด การสร้างความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและการปฏิบัติด้วยตนเองซึ่งเป็นการเชื่อมโยงความคิดพื้นฐานของประสบการณ์เดิมกับความรู้และประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับมาหรือเมื่อได้ลงมือทำมีการคิดหาเหตุผล เห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เดิมและความรู้ใหม่ที่ได้รับมาจากการลงมือทำเอง ค่อย ๆ ทำความเข้าใจจนได้ข้อสรุปด้วยตนเอง ผู้เรียนจะได้ความรู้โดยผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมของตัวเขาเอง และจะค่อย ๆ สร้างทฤษฎีเกี่ยวกับโลกของตัวเขา ทฤษฎีใหม่ ๆ ในใจของผู้เรียนจะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายการพัฒนา คือ ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ โดยใช้ไอซีทีเป็นเครื่องมือ และสามารถพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักแสวงหาความรู้และเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองจากการใช้ไอซีทีสร้างสรรค์หรือนำเสนอผลงาน ซึ่งจะเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน และเพิ่มศักยภาพครูในการจัดการเรียนการสอน
ขั้นตอนการประยุกต์ใช้
1. การใช้และระดับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
(1) ระบบสื่อสาร หมายถึง เครือข่ายโทรคมนาคมที่สามารถเชื่อมต่อกันได้และใช้ร่วมกันได้เพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลและเชื่อมต่อของเครือข่าย
(2) อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร อันได้แก่ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โทรสาร โทรศัพท์ เครื่องมือและการสื่อสารอื่น ๆ และคอมพิวเตอร์
(3) ซอฟต์แวร์ที่ทำให้ระบบและอุปกรณ์ทำงานได้ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ บริการสารสนเทศ และฐานข้อมูล
2. ขั้นตอนการใช้สื่อ ซึ่งครูจำเป็นต้องมีการจัดเตรียมไอซีทีที่จะใช้ให้พร้อม และเป็นระบบตามกระบวนการขั้นตอนการใช้หรือมีการวางแผนการใช้เป็นลำดับขั้น ได้แก่ (1) ขั้นวางแผน (Planning) (2) ขั้นเลือกสื่อ (Selection) (3) ขั้นเตรียมการใช้ (Preparation) (4) ขั้นการใช้สื่อ (Presentation) (5) ขั้นประเมินการใช้ (Evaluation)
3. การใช้ไอซีทีในด้านกระบวนการเรียนรู้ มีรายละเอียดดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , 2545 : 27-29)
1) รูปแบบที่ 1 แบบรายวิชา โดยจะทำการศึกษาการแยกย่อยลงไปในรายวิชา วิชาที่ใช้นั้นมีอะไรบ้าง
2) รูปแบบที่ 2 แบบบูรณาการ เป็นการศึกษาการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎี “คอนสตรัคชั่นนิสม์” (Constructionism) ซึ่งเป็นแนวคิดทฤษฎีที่โครงการโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3) รูปแบบที่ 3 แบบการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเสริมศึกษา โดยศึกษาด้านการใช้ Software ที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาที่สอน และนักเรียนสร้างผลงานแล้วจัดเก็บผลงานโดยบันทึกในรูปของซีดี
ผลกระทบ
1. การเปลี่ยนผู้บริหารโรงเรียน ทำให้การพัฒนาไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
2. ปัญหาการบริหาร มีเฉพาะในการดำเนินการตามแผน ICT คือ ทรัพยากรฮาร์ดแวร์ที่สนับสนุนไม่เพียงพอ
3. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินการตามแผน ICT ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งมีปัญหาบ่อย
4. งบประมาณที่สนับสนุนไม่เพียงพอ และทรัพยากรซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนไม่เพียงพอ

2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทย จงสังเคราะห์ความรู้จากแผนแม่บทมาเป็นคำอรรถาธิบายให้แจ้งชัด
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการจัดทำแผนแม่บทด้านไอซีที (ICT) ฉบับที่ 2 ของรัฐบาลไทยเนื่องจากปัจจัยพื้นฐานสำคัญในการลดความเสี่ยงต่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้ทัดเทียมกับนานาชาติ โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสำหรับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนผู้ใช้งานระบบและเครือข่ายทั่วไป เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวมีกระบวนการขั้นตอนอย่างเป็นระบบจึงจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีแห่งชาติเพื่อกำหนดขอบเขตหรือข้อกำหนดในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของคอมพิวเตอร์และเครือข่ายให้กับองค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ ในระดับชาติ ในปัจจุบัน กล่าวได้ว่าเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว
แผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีที (ICT Security Master Plan) เป็นแผนที่นำทางทางกลยุทธ์ (a Strategic Roadmap) ซึ่งจำเป็นสำหรับการริเริ่มโครงการระดับชาติที่เป็นแผนปฏิบัติการโครงการเร่งด่วนเพื่อที่จะคุ้มครองโครงสร้างพื้นฐานวิกฤตของชาติ (Critical Information Infrastructure) จากภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อที่จะลดผลกระทบจากเหตุ ตลอดจนการฟื้นฟูระบบอย่างรวดเร็ว แผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีแห่งชาติจะช่วยจัดตั้งรูปแบบและลำดับความสำคัญในบริบทของ ความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีทีเมื่อคำนึงถึงสถานการณ์ปัจจุบันและการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย ทั้งที่จะเกิดต่อภาคประชาชน ภาคเอกชนและภาครัฐบาล การออกแบบแผนปฏิบัติการโครงการเร่งด่วนของแผนแม่บทฉบับนี้ต้องการที่จะจัดให้มีองค์การที่มีกรอบการทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นอย่างพอเพียง เพื่อที่จะสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นของแผนปฏิบัติการโครงการเร่งด่วนสำหรับปีที่ 1 ของการดำเนินการตามแผนแม่บทความมั่นคงปลอดภัยด้านไอซีที จะประกอบด้วย 6 โครงการดังนี้
1. การจัดทำนโยบายด้านความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ
2. โครงการประเมินความพร้อมขององค์กรภาครัฐซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3. ศูนย์นโยบายและวิเคราะห์ความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์แห่งชาติ(TISPAC)
4. โครงการจัดทำดัชนีชี้วัดความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ
5. โครงการสร้างความตระหนักด้านความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ
6. โครงการฝึกอบรม ด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด จงอภิปรายถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องให้เห็นเป็นรูปธรรม
ข้าพเจ้าจึงเห็นด้วยกับการใช้กระบวนการทางกฎหมาย (กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550) เพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมในสังคมจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด แต่ควรมีการประชาสัมพันธ์เนื้อหา ให้มากขึ้นในวงกว้าง และ ควรมีการปรับแก้บางมาตรา หรือ การปรับแก้บทลงโทษให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ตลอดจน ภาครัฐควรบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ให้จริงจัง
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 บัญญัติให้การกระทำที่เป็นความผิดและกำหนดบทลงโทษไว้ในหมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่มาตรา ๕ ถึงมาตรา ๑๖โดยกำหนดองค์ประกอบความผิดและบทลงโทษไว้ สามารถสรุปการกระทำความผิด ดังนี้ การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคลเหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้ การลักลอบนำเอาข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการสร้างความเสียหายต่อบุคคลและสังคมสารสนเทศโดยผู้ไม่ประสงค์ดี ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่า “อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์” การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เป็นการกระทำที่”ขาดจริยธรรม”ที่ดีแล้ว ยังเป็นการกระทำผิดกฎหมายด้วย เนื่องจากลักษณะการก่ออาชญากรรมลักษณะพิเศษ จึงควรมีกฎหมายใหม่ที่ไม่กระทบต่อโครงสร้างประมวลกฎหมายอาญาเดิมเพียงแต่กฎหมายนี้จะเข้ามาทำหน้าที่อุดช่องว่างทางกฎหมายของประมวลกฎหมายอาญาที่ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ นอกจากนี้ในการบังคับใช้กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีอำนาจพิเศษของเจ้าพนักงานบางประการ อาทิ การถอดรหัสลับข้อมูล การเรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อีกทั้งการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาจำเป็นต้องใช้เวลาค่อนข้างนานจึงเห็นควรให้มีกฎหมายเฉพาะในลักษณะพระราชบัญญัติ เพื่อให้ทันต่อการกระทำผิดรูปแบบใหม่ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น